ครช. ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน พรก. ฉุกเฉินเป็นปัญหา

ครช. ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน พรก. ฉุกเฉินเป็นปัญหา เมื่อ 17 ก.ย.64 ที่อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) เดินทางมายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินว่าด้วย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ละเมิดสิทธิและเสรีภาพ ที่บุคคลพึ่งได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ยอดมวลชนประมาณ 10 คน

เวลา 10.00 น. จนท.ตร.เข้า รปภ.พี้นที่ และ เฝ้าระวังสถานการณ์ โดยกลุ่มได้ต่อแถวเพื่อผ่านมาตรการคัดกรอง โดยจะต้องทำการลงชื่อ และ หน่วยงานที่จะมาติดต่อเพื่อยื่นหนังสือ และ วัดอุณหภูมิก่อนเข้ามาภายในอาคาร

เวลา 10.30 น. กลุ่มได้มีการให้สัมภาษณ์สื่อพร้อมแสดงความเห็นเกี่ยวกับการใช้ พรก.ฉุกเฉิน ในห้วงที่ผ่านมาของรัฐบาลภาพรวมเนื้อหาบางส่วน

ดร. อนุสรณ์ อุณโณ กล่าวถึงการมายื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน และต้องการชี้ให้เห็นว่า พรก.ฉุกเฉิน ที่ถูกนำมาใช้ ขัดรัฐธรรมนูญอย่างไร ที่ผ่านมามีการนำมาใช้อย่างต่อเนี่องถึง 16 ปี โดยเฉพาะใน จชต. ซึ่งเป้าหมายก็ไม่ได้มีการหายไปไหน มีการนำมาประกาศใช้ในห้วงระบาดโควิด-19 ซึ่งไม่ได้ถูกใช้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แต่กลับกลายเป็นการนำไปใช้ในการกำจัดผู้เห็นต่างทางการเมีอง

นาย ธีรัตม์ พณิชอุดมพัชร์ (แชมป์) พยายามชี้ให้เห็นว่า พรก. ฉุกเฉินเป็นปัญหา ซึ่งรัฐบาลสามารถต่ออายุเวลาได้ ต่อเนี่องเพื่อคงอำนาจให้ตัวเอง ละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคล โดยการระบุแบบกว้างๆไว้ และ ใช้อำนาจในการคุกคาม อาทิ เอกสาร และ การคุกคาม ในประเด็นการสนทนาระหว่างบุคคล สามารถควบคุมตัวใครก็ตามที่เป็นผู้ต้องสงสัยอย่างต่ำ 7 วัน

 

นาย สมยศ พฤกษาเกษมสุข กล่าวถึง ประสบการณ์ที่ถูกละเมิดจาก พรก.ฉุกเฉิน โดยมองว่า ใช้เป็นเครี่องมือปราบปรามคนเห็นต่างรัฐบาล นำไปสู่ความรุนแรง กล่าวถึงการดำเนินการค้นบ้านพัก ของ สมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ และ การชุมนุม เรียกร้อง สตช. หยุดใช้ความรุนแรง และ หยุดใช้ พรก.ฉุกเฉินเพื่อคลายล็อคสถานการณ์ นำไปสู่การเจรจา จึงอยากให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเข้ามาตรวจสอบ และ ดูแล

อ.ชลิตา บัณฑุวงศ์ กล่าวถึง ผลกระทบ พรก.ฉุกเฉินที่มีมานานแล้ว แต่เกิดจากความห่างไกล เนื่องจากจะชัดเจนในภาคใต้ การอ้าง พรก.ฉุกเฉิน ที่ถูกนำมาใช้ในห้วงการบริหารโควิด-19 โดยจับกุมผู้เห็นต่างแล้วกว่า 1000 คน ขอผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่ามีการขัดต่อ รธน. หรือไม่ ซึ่งวันนี้กลุ่มได้มีการเตรียมข้อมูลโต้แย้ง คำวินิจฉัยก่อนๆของ ศาล รธน.

นายบารมี ชัยรัตน์ กล่าวถึงการใช้ พรก.ฉุกเฉิน ในสถานการณ์แพร่ระบาด ของโควิด-19 แต่โรคระบาดกลับ ไม่ลดลง โดยตนถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนขณะทำกิจกรรมเพียงยืนเฉยๆเท่านั้น

 

น.ส. พริม มณีโชติ กล่าวโจมตีการใช้ พรก.ฉุกเฉิน เป็นเหตุให้มีหมายเรียก โดยไม่สมเหตุสมผล

จากนั้น กลุ่มทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ มอบสายสะพาย หมายทองคำให้กับ นาย ณัฐพงษ์ มาลี จากเพจสำนักข่าวราษฎร และ จัดตัวแทน 5 คน นำโดย ดร. อนุสรณ์ อุณโณ, อ.ชลิตา บัณฑุวงศ์ เข้ายื่นหนังสือต่อสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่าน นายปิยะ ลือเดชกุล ผอ.สำนักตรวจสอบเรื่องร้องเรียน เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

เวลา 11.45 น. กลุ่มทยอยเดินทางออกจากพื้นที่

อ่านต่อ