พิธา พรรคก้าวไกล หาเสียงหนองคาย สู้เลือกตั้ง 9ปี

พิธา พรรคก้าวไกล หาเสียงหนองคาย สู้เลือกตั้ง 9ปี ความเคลื่อนไหวแกนนำพรรคพรรคก้าวไกลปราศรัยพบพี่น้องพื้นที่จังหวัดหนองคาย เมื่อ 11 ม.ค.66 เวลา 1400 พรรคพรรคก้าวไกล ปราศรัยพบพี่น้องพื้นที่ จังหวัดหนองคาย ณ วัดเฝ้าไร่วนาราม อ.เฝ้าไร่ จ.หนองคาย

นำโดย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยแกนนำ และ ส.ส.พรรคก้าวไกล อาทิ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายอภิชาติ ศิริสุนทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต ร่วมเปิดเวทีปราศรัยแนะนำตัวผู้สมัคร ส.ส.

โดยผู้ดำเนินรายการเปิดเวทีปราศรัยกล่าวแนะนำตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. จ.หนองคาย ทั้ง 3 เขต ประกอบด้วย เขตเลือกตั้งที่ 1 น.ส.อภิญญา บุญจันทร์, เขตเลือกตั้งที่ 2 นายแสวง ราชพลแสน, เขตเลือกตั้งที่ 3 นายจริวัฒน์ ตัณฑรัตน์ มีมวลชนเข้าร่วมรับฟังการปราศรัย ประมาณ 1,000 คน

เวลา 1530 ถ่ายภาพร่วมกับมวลชนและยุติการปราศรัย เหตุการณ์ทั่วไปปกติ

สรุปสาระสำคัญการปราศรัย ดังนี้ การปราศรัย เป็นการโจ มตีรัฐบาล การรัฐประหาร การบริหารงานรัฐบาลทำให้เศรษฐกิจไม่ดี ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ และโจ มตีนโยบาย พรรคการเมืองอื่น โดย นายพิธาเริ่มการปราศรัย กล่าวถึงแนวคิดกระดุม 5 เม็ด ที่เคยได้อภิปรายไปอีกครั้ง โดยระบุว่าในบรรดากระดุมทั้ง 5 เม็ด ตนและพรรคก้าวไกลเน้นเสมอว่ากระดุมเม็ดแรกที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในชีวิตของเกษตรกรคือเรื่องของที่ดิน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลประยุทธ์ได้ใช้นโยบายยึดที่ดินจากประชาชน เป็นนโยบาย “ทวงคืนผืนป่า” ในยุครัฐบาล คสช.

สำหรับพรรคก้าวไกล เรามีวิธีคิดที่แตกต่างออกไปจากทุกรัฐบาลที่ผ่านมา เราเป็นพรรคที่พูดมาเสมอว่าที่ดินของประเทศไทยอยู่ในมือของรัฐมากเกินไป ถึง 62% จาก 320 ล้านไร่ ภายใต้การดูแลของ 8 กระทรวง และกฎหมาย 16 ฉบับ และนี่คือจุดเริ่มต้นที่เราต้องแก้ปัญหา เป็นกระดุมเม็ดแรกที่พรรคก้าวไกลจะเข้าไปจัดการอย่างเป็นระบบ

1.การตั้งกองทุนพิสูจน์สิทธิที่ดิน ที่ปีหนึ่งๆ มีงบประมาณอยู่เพียง 300 กว่าล้านบาท ช่วยเกษตรกรพิสูจน์สิทธิได้แค่ปีละ 1,000 ราย ในอัตราเช่นนี้ เราต้องใช้เวลาถึง 1,000 ปีกว่าที่ประชาชนที่มีความต้องการจะได้รับการพิสูจน์สิทธิจนครบทั้งประเทศ ดังนั้น พรรคก้าวไกลจึงมีนโยบายเพิ่มงบประมาณในการสำรวจที่ดินเพิ่มขึ้น 30 เท่าเป็น 10,000 ล้านบาท

2.การจัดตั้ง “ธนาคารที่ดิน” ซึ่งขบวนการภาคประชาชน อาทิ พีมูฟ ได้นำเสนอมาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้เป็นกลไกในการเอาที่ดินจากมือรัฐ มาเข้าในธนาคารที่ดิน ก่อนกระจายให้ประชาชนผ่อนจ่ายเป็นเจ้าของที่ดินได้ในดอกเบี้ยราคาถูก

3.นโยบายเปลี่ยนที่ดิน ส.ป.ก. เป็นโฉนด ซึ่งพิธาระบุว่าจากที่ดินที่ประเทศไทยเรามีอยู่ทั้งหมด 320 ล้านไร่ เป็นที่ดิน ส.ป.ก. อยู่ถึง 40 ล้านไร่ เป็นที่ดินที่ประชาชนสามารถใช้ได้แต่เต็มไปด้วยข้อจำกัด ไม่สามารถนำไปสู่การต่อยอดได้ และเวลาผ่านไปกลับเกิดการเปลี่ยนมือเป็นของนายทุนถึง 4 ล้านไร่ นี่คือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ตราบที่ประเทศไทยยังปล่อยให้ ส.ป.ก. เป็นเรื่องคาราคาซังอยู่แบบนี้ ส.ป.ก. จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดในการคายที่ดินออกมาจากมือของรัฐ

อ่านต่อ