ราษฎร อุบลปลดแอก รำลึกวันเฉลิม อุ้มหาย

ราษฎร อุบลปลดแอก รำลึกวันเฉลิม อุ้มหาย เมื่อ 4 มิ.ย.64 เวลา 1800 – 1900 คณะอุบลปลดแอก นำโดยนายวิศรุต สวัสดิ์วร อดีตผู้สมัครนายกเทศมนตรีเทศบาลนครอุบลราชธานี (กลุ่มนครอุบลก้าวหน้า) ว่าที่ ร.ต.ฉัตรชัย แก้วคำปอด อดีตผู้สมัคร สส./ส.อบจ.อุบลฯ แกนนำ ร่วมกับสมาชิกคณะก้าวหน้า/พรรคก้าวไกล จว.อ.บ. นำโดยนายพงษ์ศักดิ์ สายวรรณ หน.ศูนย์ประสานงานฯ,นายเชษฐา ไชยสัตย์ อดีตผู้สมัครนายก อบจ.อ.บ. ในนามคณะก้าวหน้า/พรรคก้าวไกล และกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นำโดย นายธีระพล อันมัย, นางเสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเล็กซานเดอร์ และนายนราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี จัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ภายใต้ชื่อ “ครบรอบ 1 ปี การถูกอุ้มหายของนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์” ที่บริเวณหน้าศาลหลักเมืองอุบลราชธานี ต.ในเมือง อ.เมืองฯ จว.อ.บ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 คน วัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมกรณีที่มีการอุ้มบุคคลให้สูญหาย โดยครอบครัวผู้เสียหายไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือการช่วยเหลือจากภาครัฐ สาระสำคัญของกิจกรรม

เวลา 1800 แกนนำพร้อมสมาชิกได้จัดเตรียมสถานที่โดยนำแผ่นป้ายรูปภาพของนายวันเฉลิมฯ มาตั้งบริเวณกิจกรรม จากนั้นนายวิศรุตฯ กล่าวปราศรัยประกาศเชิญชวนให้ผู้ผ่านไป-มา เข้าร่วมกิจกรรม ด้วยการยืนแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ที่มีการบังคับสูญหายของกลุ่มผู้เห็นต่างทางการเมือง ใช้เวลาประมาณ 15 นาที

เวลา 1820 ว่าที่ ร.ต.ฉัตรชัยฯ กล่าวปราศรัยถึง ประวัติของนายวันเฉลิมฯ อุปนิสัย และบันทึกความคิดถึงจากกลุ่มเพื่อน ความชื่นชอบนายทักษิณ ชินวัตร อดีต นรม. และพรรคเพื่อไทย หลังจากนั้นได้กล่าวถึงความต้องการแก้ไขปัญหาไม่ให้มีการถูกบังคับอุ้มสูญหาย กับประชาชนหรือนักกิจกรรมทางการเมือง

 

เวลา 1830 นายธีระพลฯ ได้กล่าวปราศรัยถึงการถูกอุ้มหายครั้งแรกในปี พ.ศ.2490 คือนายเตียง ศิริขันธ์ หลังจากนั้นในสังคมเริ่มเกิดขึ้นมาตลอด โดยเฉพาะในยุคที่ทหารมีอำนาจทางการเมือง พร้อมยังมีการแจ้งข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงต่อผู้เห็นต่างทางการเมือง หรือการใช้อำนาจในการนำบุคคลเข้าปรับทัศนคติในค่ายทหาร จนส่งผลให้ต้องมีการลี้ภัยทางการเมือง อาทิ นายวันเฉลิมฯ นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (ลุงสนามหลวง) นายวุฒิพงษ์ กชธรรมคุณ (โกตี๋) ฯลฯ และถูกกระทำให้สูญหายจากภาครัฐ หลังจากนี้ไม่ควรมีเหตุการณ์บังคับสูญหาย

เวลา 1840 นายเชษฐาฯ ปราศรัยถึงเหตุการณ์กรณีนายวันเฉลิมฯ ถูกบังคับสูญหาย ซึ่งตนต้องการคำตอบจากผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงมาเคลื่อนไหวแสดงออกไม่เห็นด้วย และขอเป็นตัวแทนของคนอุบลฯ เรียกร้องให้ภาครัฐหาคำตอบว่าวันเฉลิมฯ สูญหายไปไหน

เวลา 1850 นายกิตติพล ไทยงามศิลป์ กล่าวปราศรัยถึงความยุติธรรม ความเท่าเทียมทางสังคม คนชั้นสูงที่สุดหรือต่ำที่สุดต้องได้รับความเท่าเทียม กล่าวโจมตีรัฐบาลกรณีทำให้คนสูญหายเป็นการทำร้ายประชาชน ตนเชื่อว่ารัฐเนรคุณจะไม่เกิดขึ้นถ้าทุกคนได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน

เวลา 1853 แกนนำเชิญชวนสมาชิกร่วมจุดเทียนรำลึกถึงนายวันเฉลิมฯ

เวลา 1900 ยุติกิจกรรมแยกย้ายเดินทางกลับเหตุการณ์ทั่วไปปกติ

อ่านต่อ